เมนูหลัก
หน้าแรก
การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
หลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข
พระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง
แผนการจัดการเรียนรู้
กิจกรรม
โครงงาน / ผลงาน นักเรียน
กำหนดการประเมินสถานศึกษาแบบอย่างฯ
   

ดาวน์โหลดเอกสาร
หน่วยการเรียนรู้บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
บันทึกความพอเพียง
ใบงาน Self-sufficient Economy
ใบงาน Self-sufficient Economy and Daily Life
ใบงาน VolunteerSpirits
แบบฟอร์มโครงงานแสดงผลงานนักเรียน
ในกิจกรรมตลาดนัดเศรษฐกิจพอเพียง
   
ลิ้งที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ศูนย์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง
สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
   
พยากรณ์อากาศ


ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบไปด้วย 5 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1. กรอบแนวคิด
           เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อความมั่นคง และความยั่งยืนของการพัฒนา

ส่วนที่ 2. คุณลักษณะ

           เศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน


ส่วนที่ 3. คำนิยาม

           ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ ดังนี้
           
ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น เช่นการผลิต และการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
          
ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
          
การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้ และไกล


ส่วนที่ 4. เงื่อนไข

            การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน 2 เงื่อนไข ดังนี้
          
  เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
         
   เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต


ส่วนที่ 5. แนวทางปฏิบัติ / ผลที่คาดว่าจะได้รับ

             จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุล และยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้ และเทคโนโลยี

 

ที่มา: http://เศรษฐกิจพอเพียง.net/